วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้วันพุธที่ 18 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

ความรู้ที่ได้รับ : 

1. นำเสนอคำคม

     สุทธิกานต์  =  ผู้ที่ขาดความเข็มแข็งทางจิตใจทำสิ่งใดก็ไม่บรรลุ

     ชนากานต์  =  การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น 

     ประภัสสร   =   เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
        
                             เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส

                             เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย

                             ดังนั้นแล้ว ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน

2. ความหมายและความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา

    การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น

                      คือ  การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมาย

                      คือ  การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน

    การศึกษา  คือ  ความเจริญงอกงาม  ทั้งร่างกาย อารมณ์  สังคม สติปัญญา

                      คือ  การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต

                      คือ  เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล

    เมื่อนำความหมายของ  " การบริหาร " มารวมกับ " การศึกษา " ก็จะได้ความหมายว่า 

    " การบริหารการศึกษาว่า " ว่า " การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้ง

    ความรู้ ความคิด ความสามารถ และเป็นคนดี

    ความหมายสถานศึกษา  

            หมายถึง  ผู้ที่ทำหน้าที่ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรโดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล

    ความสำคัญของการศึกษา

            นงลักษณ์  วิรัชชัย (2546) กล่าวว่า การปฏิรูปสถานศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ

    ผู้บริหารมีคุณลักษณะต่อไปนี้  คือ มีความสามารถทางการบริหารตลอดจนการดำเนินงานได้

    อย่างเหมาะสม

    ขอบข่ายของการบริหา

             กระทรวงศึกษาธิการ  (2546) ได้กำหนดขอบข่ายภาระของงานในการบริหารไว้

    ประกอบด้วย 5 งาน ได้แก่

             1. การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง

             2. การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง

             3. การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

             4. วินัยและการรักษาวินัย

             5. การออกราชการ

   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร



   ทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์

  • Taylor บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
   ทฤษฎีเชิงบริหาร
  • Herry Fayol
  • Chester Bauard
  • Luter Gulick
   ทฤษฎีการบริหารราชการ
  • Max Weber
   ทฤษฎีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
  • Heyo Munsterbery
  • Mary Parker Folle
รูปภาพ :

การนำไปใช้ : 
      -  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนในวิชานี้ครั้งต่อไป เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

การประเมิน

ประเมินครู

แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมตัวในการมาสอนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน

แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนช้า เพราะเข้าใจผิดกับเวลาเข้าเรียน

ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนช้าเพราะเข้าใจผิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น